วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มช.ค้นพบ ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ของดีใกล้ตัวชาวล้านนา

ข้าวก่ำดอยสะเก็ด พบสารสำคัญสีม่วงแดงของเปลือกหุ้มเมล็ด มีแกมมาโอไรซานอล สูงกว่าข้าวขาวทั่วไปถึง 2-3 เท่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
   ทีมวิจัย มช. ศึกษาข้าวก่ำดอยสะเก็ด พบสารสำคัญสีม่วงแดงของเปลือกหุ้มเมล็ด มีแกมมาโอไรซานอล สูงกว่าข้าวขาวทั่วไปถึง 2-3 เท่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และพบแอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสู ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยหมุนเวียนกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ ลดโอกาสการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งชนิดเนื้องอก เมื่อทดสอบในสัตว์ทดลองที่มีภาวะเบาหวาน พบว่าให้ผลดีเช่นเดียวกับการฉีดอินซูลินหรือยา metformin 

   อาจารย์ ดร.นริศรา ไล้เลิศ จากกลุ่มวิจัย “คลัสเตอร์มูลค่าเพิ่มการผลิตและแปรรูปพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นความร่วมมือของคณะเกษตรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) ให้ข้อมูลว่า เมื่อพูดถึงข้าวก่ำ (Purple Rice) แล้วหลายๆคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงข้าวเหนียวดำ (Black Sticky Rice) แล้วก็จะร้องอ๋อกันทีเดียว ข้าวก่ำหรือข้าวเหนียวดำเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดเป็นสีออกแดงม่วงหรือแดงก่ำ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ข้าวก่ำ” และเป็นชื่อเรียกตามภาษาถิ่นของภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการรวบรวมโดยหน่วยวิจัยข้าวก่ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากแหล่งปลูกข้าวในประเทศไทยนั้น
       
        พบว่ามีพันธุ์ข้าวก่ำพื้นเมืองอยู่มากกว่า 42 พันธุกรรม แต่ที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกและได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์เป็นข้าวเหนียวก่ำจากกรมวิชาการเกษตรนั้นมีเพียงบางพันธุ์เท่านั้น อาทิเช่น พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด (Kum Doisaket), พันธุ์ก่ำอมก๋อย (Kum Omkoi) และพันธุ์ก่ำลืมผัวที่จะเพิ่งได้รับการรับรองล่าสุด แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวเน้นถึงพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดเนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวก่ำซึ่งมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงและได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากข้าวก่ำดอยสะเก็ดเมื่อหุสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย และเมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมัน นุ่มแบบหนุ
       
       ข้าวก่ำหรือข้าวเหนียวก่ำมักจะถูกนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร อีกทั้งยังนิยมใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำขนมต่างๆ และนำไปใช้เป็นสมุนไพร เช่นใช้ทำเป็นข้าวหลามรักษาโรคท้องร่วง หรือใช้รักษาอาการตกเลือดของหญิงคลอดลู จึงนับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาทางโภชนศาสตร์ เกษตรและเภสัชศาสตร์ สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของข้าวก่ำดอยสะเก็ดนั้น พบว่านอกจากจะมีทั้งสารอาหารสำคัญได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินอี รวมทั้งแคลเซียมและเหล็กสูงแล้ว ข้าวก่ำดอยสะเก็ดยังมีสารสำคัญสีม่วงแดงของเปลือกหุ้มเมล็ดคือแกมมาโอไรซานอล (Gamma Oryzanol) ที่สูงกว่าข้าวขาวทั่วไปถึง 2-3 เท่า และที่น่าสนใจก็คือข้าวก่ำดอยสะเก็ดสามารถสังเคราะห์แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ได้อีกด้วย ซึ่งทั้งสารแกมมาโอไรซานอลและแอนโทไซยานินนั้นจากการศึกษาวิจัยและรายงานในวารสารสาขาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์พบว่ามีสรรพคุณทางยามากมาย อาทิเช่น สารแอนโทไซยานินมีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยในการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งชนิดเนื้องอก ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ส่วนสารแกมมาโอไรซานอลนั้นนอกจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันแล้ว ยังสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของ high density lipoprotein (HDL) ในเลือด ยับยั้งการรวมตัวของเลือดและยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย 
       
       จากสรรพคุณที่มีประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้ในปัจจุบันนี้ กระแสความนิยมบริโภคอาหารที่มีสารสีม่วงดำในผักและผลไม้ จึงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพในทุกเพศทุกวัย ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยโดยความร่วมมือระหว่างคณะเกษตรศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพของข้าวก่ำดอยสะเก็ดในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งโรคเบาหวานนี้จัดเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาดและเป็นโรคไม่ติดต่อที่นับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงของโรคโดยจะเห็นได้จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หลังการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2534, พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2547 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.1 เป็น 8.1 และ 10.2 ตามลำดับและในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้มีเพียงร้อยละ 37.4 ของผู้ป่วยเบาหวานเท่านั้นที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้และได้รับการรักษาอยู่
    ในงานวิจัยหลายๆชิ้นงานพบว่าในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสู หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะทำให้มีผลเพิ่มสารอนุมูลอิสระหรือก่อให้เกิดภาวะ oxidative stress ในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัที่จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (hypertension), โรคหลอดเลือดอุดตัน (arteriosclerosis), โรคไตวาย (renal failure) และโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามโรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ดังนั้นวิธีทางที่ดีและเหมาะสมในการลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานหรือลดอัตราการตายจากโรคเบาหวานคือการป้องกันโรคแทรกซ้อนและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่มีประสิทธิภาพ
       
       จากผลการศึกษาวิจัยในโครงการนี้ซึ่งได้รับรางวัล Best Oral Presentation Award ในงานประชุม International Conference on The Role of Agriculture and Nature Resources on Global Change (ANGC2011) พบว่าในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ได้รับรำข้าวก่ำดอยสะเก็ดติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีผลลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด (antihyperglycemia), ลดระดับไขมันในเลือด (hypolipidemia) และลดการเกิดสารอนุมูลอิสระในเลือด (antioxidant) ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ทดลองเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา และผลในลักษณะดังกล่าวนี้ยังพบได้เช่นเดียวกันกับการฉีดอินซูลินหรือการให้ยา metformin ในสัตว์ทดลองที่มีภาวะเบาหวานทั้งสองรูปแบบนี้ซึ่งใช้เป็นกลุ่ม positive drug control ของภาวะเบาหวานทั้งสองชนิด และจากการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลของข้าวก่ำดอยสะเก็ดบ่งชี้ว่ามีผลต่อการเพิ่มความไวในการตอบสนองต่ออินซูลินที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณภายในของอินซูลิน (insulin signaling) ในกล้ามเนื้อลาย ดังนั้นการศึกษานี้จึงเป็นอีกหนึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนศักยภาพของข้าวก่ำดอยสะเก็ดในการที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ (food supplement) หรือยาเสริม (additive treatment) สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพหรือผู้ป่วยเบาหวานต่อไป...

The Shock FM - เรื่อง ลองดีจนเจอดี
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ : www.manager.co.th
Create By: Pal_Pitchapong





 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Justin Bieber, Gold Price in India